วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2551

พระราชประวัติ รัชกาลที่5

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 ครองราชย์ 42 ปี (พ.ศ. 2411-2453) พระชนมายุ 58 พรรษา
เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2396 มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ ก่อนขึ้นครองราชย์ทรงดำรงพระยศเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ
พระองค์ได้ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศนานัปการ ทรงบริหารประเทศก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ ทรงประกาศเลิกทาส ปรับปรุงระบบการศาล ตั้งกระทรวงยุติธรรม ปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ ส่งเสริมการศึกษาอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนทั่วไป ตั้งกระทรวงธรรมการ ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู ส่งนักเรียนไทยไปศึกษาในยุโรป สร้างการรถไฟ โดยทรงเปิดเส้นทางเดินรถไฟสายกรุงเทพ ฯ ถึงนครราชสีมา เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2421 สร้างโรงไฟฟ้า จัดให้มีการเดินรถรางขึ้นในกรุงเทพ ฯ จัดตั้งการ ไปรษณีย์โทรเลข เมื่อ พ.ศ. 2421 สร้างระบบการประปา ฯลฯ
ด้านการต่างประเทศ ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกลยิ่งนัก ได้ทรงนำประเทศไทยให้ รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกได้ตลอดรอดฝั่ง โดยดำเนินวิเทโศบาย ผูกสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจเพื่อคานอำนาจ พระองค์ได้เสร็จประพาสยุโรป ถึงสองครั้ง โดยได้เสร็จเยือนประเทศ ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมนี อังกฤษ ออสเตรีย ฮังการี เบลเยี่ยม อิตาลี สวีเดน และเดนมาร์ก เมื่อ ปี พ.ศ. 2440 ทรงแต่งตั้งราชทูตไปประจำ ประเทศต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2424 ได้แก่ อิตาลี เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ออสเตรีย ฮังการี เดนมาร์ก สวีเดน โปรตุเกส นอร์เว และ สเปน อังกฤษ ในปี พ.ศ. 2425 สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2427 รัสเซียในปี พ.ศ. 2440 และญี่ปุ่นใน ปี พ.ศ. 2442
พระองค์ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร ให้เป็นสุขร่มเย็นโปรดการเสด็จประพาสต้น เพื่อให้ได้ทรงทราบความเป็นอยู่ที่แท้จริงของพสกนิกร ทรงสนพระทัยในวิชาความรู้ และวิทยาการแขนงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และนำมาใช้บริหารประเทศให้ เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยะมหาราช
ด้านการพระศาสนา ทรงทำนุบำรุง และจัดการให้เหมาะสม เจริญรุ่งเรือง ทรงสถาปนามหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยขึ้น ณ วัดมหาธาตุ และมหามงกุฎราชวิทยาลัยขึ้น ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อให้เป็นสถานศึกษาพระปริยัติธรรม และวิชาการชั้นสูง นอกจากนั้น ยังทรงสร้างวัดเทพศิรินทราวาส และวัดเบญจมบพิตร ซึ่งนับว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามยิ่งแห่

ประวัติส่วนตัว









ประวัติทหารพราน
ทหารพราน “ นาวิกโยธิน ” ถือกำเนิดจากทหารพรานของกองทัพบก

- ระหว่างปี ๒๕๒๐ - ๒๕๒๑ ประเทศไทยถูกภัยคุกคามอย่างหนักจากพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่รอยต่อตามแนวชายแดนไทย - เพื่อให้เกิดความมั่นคงตามแนวชายแดนไทย ในขณะนั้น คือ ๑. การปิดกั้นและควบคุมชายแดน ๒. คุ้มครองประชาชนตามแนวชายแดน ๓. การปฏิบัติการทางทหารเพื่อทำลายฝ่ายตรงข้าม และการตอบโต้การปฏิบัติของฝ่ายตรงข้าม - กำลังทหารหลักที่ถูกส่งไปปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ต้องเกาะติดอยู่กับพื้นที่ไม่สามารถนำกำลังกลับเข้าที่ตั้งหน่วย เพื่อการฝึกฟื้นฟูสมรรถภาพ จึงเกิดแนวความคิดที่ว่าควรจะมีกำลังหน่วยหนึ่งเข้ามาแทนที่ทหารหลัก และกำลังหน่วยนั้นควรจะเป็นกำลังที่จัดจากประชาชนในท้องถิ่นนั้น เพราะ “ ไม่มีใครทราบปัญหาที่ทำให้เกิดเงื่อนไขได้ดีเท่ากับคนในพื้นที่นั้น ” ที่ประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ กองบัญชาการทหารสูงสุดได้ให้ความเห็นชอบให้ดำเนินการ เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๑ เรียกว่า “ โครงการชุดปฏิบัติการพิเศษทหารพราน ชายแดนไทย ” คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๒๑ กองทัพบก จึงถือเอา วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนาหน่วย