ประวัติทหารพราน
ทหารพราน “ นาวิกโยธิน ” ถือกำเนิดจากทหารพรานของกองทัพบก
- ระหว่างปี ๒๕๒๐ - ๒๕๒๑ ประเทศไทยถูกภัยคุกคามอย่างหนักจากพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่รอยต่อตามแนวชายแดนไทย - เพื่อให้เกิดความมั่นคงตามแนวชายแดนไทย ในขณะนั้น คือ ๑. การปิดกั้นและควบคุมชายแดน ๒. คุ้มครองประชาชนตามแนวชายแดน ๓. การปฏิบัติการทางทหารเพื่อทำลายฝ่ายตรงข้าม และการตอบโต้การปฏิบัติของฝ่ายตรงข้าม - กำลังทหารหลักที่ถูกส่งไปปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ต้องเกาะติดอยู่กับพื้นที่ไม่สามารถนำกำลังกลับเข้าที่ตั้งหน่วย เพื่อการฝึกฟื้นฟูสมรรถภาพ จึงเกิดแนวความคิดที่ว่าควรจะมีกำลังหน่วยหนึ่งเข้ามาแทนที่ทหารหลัก และกำลังหน่วยนั้นควรจะเป็นกำลังที่จัดจากประชาชนในท้องถิ่นนั้น เพราะ “ ไม่มีใครทราบปัญหาที่ทำให้เกิดเงื่อนไขได้ดีเท่ากับคนในพื้นที่นั้น ” ที่ประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ กองบัญชาการทหารสูงสุดได้ให้ความเห็นชอบให้ดำเนินการ เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๑ เรียกว่า “ โครงการชุดปฏิบัติการพิเศษทหารพราน ชายแดนไทย ” คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๒๑ กองทัพบก จึงถือเอา วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนาหน่วย
ทหารพราน “ นาวิกโยธิน ” ถือกำเนิดจากทหารพรานของกองทัพบก
- ระหว่างปี ๒๕๒๐ - ๒๕๒๑ ประเทศไทยถูกภัยคุกคามอย่างหนักจากพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่รอยต่อตามแนวชายแดนไทย - เพื่อให้เกิดความมั่นคงตามแนวชายแดนไทย ในขณะนั้น คือ ๑. การปิดกั้นและควบคุมชายแดน ๒. คุ้มครองประชาชนตามแนวชายแดน ๓. การปฏิบัติการทางทหารเพื่อทำลายฝ่ายตรงข้าม และการตอบโต้การปฏิบัติของฝ่ายตรงข้าม - กำลังทหารหลักที่ถูกส่งไปปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ต้องเกาะติดอยู่กับพื้นที่ไม่สามารถนำกำลังกลับเข้าที่ตั้งหน่วย เพื่อการฝึกฟื้นฟูสมรรถภาพ จึงเกิดแนวความคิดที่ว่าควรจะมีกำลังหน่วยหนึ่งเข้ามาแทนที่ทหารหลัก และกำลังหน่วยนั้นควรจะเป็นกำลังที่จัดจากประชาชนในท้องถิ่นนั้น เพราะ “ ไม่มีใครทราบปัญหาที่ทำให้เกิดเงื่อนไขได้ดีเท่ากับคนในพื้นที่นั้น ” ที่ประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ กองบัญชาการทหารสูงสุดได้ให้ความเห็นชอบให้ดำเนินการ เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๑ เรียกว่า “ โครงการชุดปฏิบัติการพิเศษทหารพราน ชายแดนไทย ” คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๒๑ กองทัพบก จึงถือเอา วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนาหน่วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น